วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระดับของการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
        1.เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่องานบริการ เช่น การจัดระบบการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ ระบบใช้อุปกรณ์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานทะเบียนและวัดผล
        2.เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรง

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
            เทคโนโลยี ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับภาษาไทยว่าวิธีการ การสาน หรือการสร้าง คำว่า Logy มีความหมายว่าความรู้เกี่ยวกับศาสตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดการการประเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน
          การศึกษา (Education) หมายถึง กระบวนวิธีใด ๆ ที่ทำให้บุคคลเปลี่ยนไปในทางที่ดีเพื่อจะได้ปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพื่อความผาสุกของตนเองและสังคม การศึกษาคือกระบวนการวิธีการแห่งความเจริญงอกงามทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และทางศีลธรรมจรรยา การศึกษานั้นไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดมีชีวิตก็ต้องมีการศึกษา ฉะนั้นการศึกษาคือชีวิต ซึ่งเป็นความหมายอีกอย่างหนึ่งของการศึกษา
                หน้าที่ของการศึกษาที่สำคัญมี 3 ประการคือ
         
1.ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม (Transmit Cultural Heritage
)
         
2.ปรับปรุงวัฒนธรรม (Transform of Culture) เช่น การแต่งกาย การใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทุ่นแรง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีใหม่ ๆซึ่งจำเป็นจะต้องรู้หลักและวิธีการใช้

                3.
พัฒนาศักยภาพของคน (Development of  Individual Potentialities)
          เทคโนโลยีทางการศึกษา( Educational Technology)
          เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงกระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมีบูรณาการระหว่างบุคคล วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การสำหรับวิเคราะห์ปัญหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะ(
Aspects) ของการเรียนรู้
          เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
          ความหมายที่ได้รับความนิยม
         
ปี พ.ศ.
2520 สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาได้มีการให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีการศึกษาใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยปรับปรุงจากปี พ.ศ.2515 ดังนี้

          เทคโนโลยีการศึกษาเป็นกระบวนการที่ประสานกันอย่างซับซ้อนโดยรวมถึงบุคคลวิธีการแนวคิด อุปกรณ์ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและเพื่อวางแผนทำให้เป็นผลสำเร็จ ประเมินและหาทางออกปัญหาเหล่านั้น โดยรวมถึงทุกแง่มุมของการเรียนรู้ของมนุษย์
         เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่างๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใดจะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
              นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้
        กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
        วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
         กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
      1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
      2.
ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
      3.
เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
         จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาอนาคตกับคุณภาพชีวิต
          คุณภาพชีวิตย่อมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังนั้นเทคโนโลยีตามความเข้าใจของชาวบ้านคือสิ่งที่สร้างความสะดวกสบายและทำให้เบาแรง งานที่ทำมาหาเลี้ยงชีพทุก ๆวันไม่หนักไม่ยุ่งยากจนเกินไป แต่สำหรับความคิดของนักวิชาการเทคโนโลยี คือวิธีการหรือกระบวนการนำความรู้ความสามารถเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งมาใช้เพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่เกิดมา
1.ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียนรู้ (Learning  Resources  Center)
          ศูนย์แห่งนี้ให้การบริการที่สะดวกสบายลดค่าใช่จ่ายลงแต่มีสื่อการเรียนรู้ที่มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์และมีคุณภาพ เป็นหน่วยการผลิตสื่อและให้บริการทุกสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสื่อและการวิจัยทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อมุ่งการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.การปรับปรุงเครื่องมือในการสอน (Improved  Media  Equipument)
สร้างและพัฒนาเครื่องมือหลากหลายรวมความเป็นหนึ่งแต่อาศัยความสะดวกในการใช้สอย ใช้ได้หลายหน้าที่ ใช้ได้ทุกสถานที่ ใช้ได้ทุกเวลา ทุกเพศ ทุกวัย ใช้ได้อย่างทั่วถึง
3.การใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ (Increase  Utilizing  Computer)
นำความเป็นเทคโนโลยีมาร่วมใช้กับการเรียนรู้มีการส่งเสริมให้ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากขึ้นในสถานศึกษานำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบริหารการจัดการมากขึ้น เน้นความสะดวกรวดเร็วในการใช้ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ การเรียนรู้แบบช่วยตนเองมากขึ้นกว่าทุกวันนี้การเรียนผ่านเว็บไซต์ WEBSITE การเรียนแปลงรูปเป็น E-LEARNING
4.การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local  Medias  Production)
เสริมการผลิตสื่อโดยเน้นการใช้วัสดุในท้องถิ่นกำเนิดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการใช้สอยอย่างคุ้มค่ามากที่สุดทั้งรูปแบบ วัสดุ อุปกรณ์ในการนำมาใช้งานต้องเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการเรียนรู้อย่างยาวนานที่สุด
5.การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรมากขึ้น
ระบบการสื่อสารได้ถูกต้องมีการดัดแปลงใช้อย่างคุ้มค่าในเมื่อการลงทุนสูงจึงต้องคิดและดัดแปลงให้คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีได้ติดต่อกันอย่างใกล้ชิดจากบ้านสู่บ้าน จากประเทศสู่อีกประเทศมีความรวดเร็ว ฉับไว สะดวกสบายก้าวทันไอทีเชื่อมโยงความเป็นมิตร ความเป็นญาติและความสัมพันธ์อันดีงามต่อกันเกินขอบเขตกำหนดช่วยให้การเชื่อมโยงมีคุณภาพและมีปริมาณมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด
6.สื่อรายบุคคล (Individual  Media)
สื่อต้องมีความสมบรูณ์ ถูกต้อง ชัดเจน สะดวกในการพกพา เคลื่อนที่ ใช้งานง่ายและมีการจูงใจให้ผู้เรียนอยากใช้
7.การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing Media)
          ตำราอนาคตจะเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาที่ทันต่อโลกตลอดเวลามีความชัดเจน ถูกต้องและมีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อจะเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ในส่วนนี้จะมีการนำหลักการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์
เทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                 1. การออกแบบ (Design)
                 2. 
การพัฒนา
(Development)
                3.
การใช้
(Utilization)
                 4.
การจัดการ
(Management)
                5.
การประเมิน
(Evaluation)
1.
การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่

               1.1
การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
          1) 
การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง
          2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน
          3) 
การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน
          4) 
การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน   
          5) 
การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

                1.2
ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน            
                 
1.3
กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
                1.4
ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน


2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
                2.1 
เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ  ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน              
                2.2
เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ
                2.3
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย          
                2.4 
เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ 
 3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
                  3.1 
การใช้สื่อ  (Media Utilization)  เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน 
                3.2 
การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
 
                3.3 
วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
      
                3.4 
นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ     
                4.1 
การจัดการโครงการ (Project Management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ        
                4.2 
การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ    
                4.3 
การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

                4.4 
การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
                5.1 
การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                 
                5.2 
เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา          
                5.3 
การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป       
   
           5.4 
การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป