วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา
        เทคโนโลยีการศึกษาแต่ละประเทศมีลักษณะแตกต่างกันและมีคุณค่าแตกต่างกันด้วย การนำไปใช้ประโยชน์จำเป็นต้องรู้จักแต่ละประเภทของเทคโนโลยีการศึกษานั้น
การจำแนกลักษณะเทคโนโลยีการศึกษา
        เดล (Dale, Edgar 1969 : 108-134) ได้จำแนกลักษณะของเทคโนโลยีการศึกษาเป็น 3 กลุ่ม หรือ 10  ลักษณะ โดยใช้รูปกรวยซึ่งเรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of  Experience) เรียงลำดับประสบการณ์ของฐานกรวยซึ่งมีพื้นฐานที่มากกว่าเป็นประสบการณ์รูปธรรม ไปถึงยอดกรวยซึ่งมีพื้นที่น้อยที่สุดเป็นประสบการณ์ 3 กลุ่มได้แก่        กลุ่มแรก ประสบการจริงได้แก่ ประสบการณ์ตรงที่มีจุดมุ่งหมาย ประสบการณ์จำลอง และ
การแสดงนาฏการณ์
        กลุ่มที่สอง ประสบการณ์รูปธรรมได้แก่ การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การแสดงนิทรรศการ โทรทัศน์ ภาพนิ่ง ภาพวาด วิทยุ และเครื่องบันทึกเสียง
        กลุ่มที่สาม ประสบการณ์นามธรรมได้แก่ สัญลักษณ์ต่างๆ แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาษาพูด และภาษาเขียน
        ทั้ง
3 กลุ่มจะแตกต่างกัน กลุ่มแรกเป็นการได้ประสบการณ์จากการกระทำจริงทำให้เรื่องราวที่เรียนรู้ชัดเจน กลุ่มที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากภาพหรือได้ยินเสียงอาจไม่ชัดเจนเท่ากลุ่มแรก และกลุ่ม 3
เป็นประสบการที่ผู้นำมาเล่า โอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าใจชัดเจนเป็นไปได้ยาก
        การเรียนการสอนที่ดีควรจะมีการผสมผสานกันทั้ง
3 แบบได้แก่ การใช้ประสบการณ์นามธรรม รูปธรรม และการปฏิบัติจริงโดยเน้นให้ใช้การปฏิบัติจริงให้มากที่สุดและใช้ประสบการณ์นามธรรมให้น้อยที่สุด
        เดลได้อธิบายรายละเอียดของประสบการณ์ทั้ง 3 กลุ่มเป็นลักษณะย่อย ๆ ได้ 10 ประสบการณ์ดังต่อไปนี้        
        1.ประสบการณ์ตรงที่มีจุดมุ่งหมายเป็นประสบการณ์จากการได้กระทำด้วยตนเองช่วยสร้างประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญมากต่อการเรียนรู้ทำให้เกิดความกระตือรือร้นอยากรู้เรื่องราวนั้น ๆ เป็นการรวมประสบการณ์จากการได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้กระทำสิ่งนั้นๆด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จึงชัดเจนเช่น ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนทำอาหารเป็นผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้ทำอาหารจริงๆประสบการณ์จากการได้ปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้เรียนทำอาหารเป็น
     2.ประสบการณ์จากการจำลองสภาพการณ์หรือของจริงเป็นการเรียนรู้จากการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงสภาพการณ์จริงใช้ในกรณีที่ผู้เรียนไมสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้เนื่องจากต้องลงทุนสูงหรือประสบการณ์นั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงๆ รวมทั้งการเรียนรู้จากของจำลองต่าง เช่น การฝึกขับเครื่องบินในห้องจำลองสถานการณ์ การทดลองผ่าตัดกับหุ่นจำลองที่บังคับด้วยคอมพิวเตอร์การเรียนสรีรวิทยาจากหุ่นจำลองร่างกายของมนุษย์เป็นต้น
       3.ประสบการณ์ที่เกิดจากการแสดงบทบาทหรือละครหรือประสบการณ์นาฏการเป็นการจำลองสถานการณ์ประเภทหนึ่งแต่ยังไม่จริงจังเท่ากับการณ์จำลองสถานการณ์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการละครตามที่กำหนดไว้โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่ตนแสดงบทบาทหรือละครดีขึ้นอย่างไรก็ตามผู้ชมก็จะได้รับความรู้จากการชมเพราะได้เห็นและฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการแสดงในขณะที่ประสบการณ์จำลองจะต้องสร้างฉากหรือสภาพแวดล้อมให้เหมือนจริง ประสบการณ์ที่เกิดจากการแสดงบทบาทหรือละครอาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้ฉากหรือสภาพแวดล้อมแต่ประการใด
     4.ประสบการการณ์จากการสาธิต เป็นประสบการณ์ที่เกิดจากที่มีการแสดงให้ดูถึงการทำงานวิธีการ หลักปฏิบัติ การผลิตและการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ ใช้ในการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการและปฏิบัติงาน อาทิ การสาธิตการปลูกข้าว การใช้จักรเย็บผ้า การเขียนภาพด้วยสีถ่าน ฯลฯ ผู้เรียนจะสามารถสังเกตขั้นตอนรายละเอียดและการทำงานของเครื่องมือที่ใช้อย่างชัดเจน และ สามารถปฏิบัติตามได้ทันที
       5.การศึกษานอกสถานที่เป็นประสบการณ์ที่ได้จากการท่องเที่ยวไปหรือทัศนะศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกต การศึกษานอกสถานที่อาจไปดูกิจการในโรงงานอุตสาหกรรม หรือทัศนาจรไปสถานที่ต่างๆ การพานักเรียนอนุบาลออกไปเดินสังเกตพืช และสัตว์ ที่สนามของโรงเรียน หรือที่ถนนหน้าโรงเรียนก็ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่เช่นกัน การศึกษานอกสถานที่ควรกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าพร้อมกับเตรียมคำถามให้สัมภาษณ์หรือหลักในการสังเกต ก็จะทำให้เพิ่มการเรียนรู้ได้ดีขึ้นกว่าการเดินทางเฉยๆ
       6. นิทรรศการเป็นการจัดประสบการณ์ที่มีระบบการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทำงานขององค์การหรือเรื่องราวต่างๆ มีการใช้รูปภาพ หุ่นจำลอง แผนภูมิ โปสเตอร์ คำบรรยาย ฯลฯ การจัดป้ายนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดนิทรรศการแม้ความเป็นรูปธรรมจะลดน้อยลงไปแต่คุณค่าของนิทรรศการก็มีมากเพราะได้รวมสื่อประสมหลายอย่างเข้าด้วยกัน
       7.ภาพยนตร์และโทรทัศน์เป็นการเสนอภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบทั้งภาพยนตร์และโทรทัศน์ให้ประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมอยู่ในระดับเดียวกันแต่โทรทัศน์ได้เปรียบที่ใช้ได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการที่ผู้เรียนสามารถเห็นภาพที่กำลังเคลื่อนไหวของเหตูการณ์ที่เกิดขึ้นห่างไกลออกไปหรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือการจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของภาพยนตร์การเรียนรู้กว้างขวางยิ่งขึ้นผู้เรียนสามารถเรียนมโนทัศน์ที่สลับซับซ้อนได้ง่ายเข้าโดยการใช้เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ที่จะให้ภาพเคลื่อนที่ช้าๆ หรือเร็วกว่าปกติภาพยนตร์ที่ดีมีคุณค่าถ่ายถอดทางโทรทัศน์ได้ทำให้ไปถึงผู้ชมได้เป็นจำนวลมาก
        8. ภาพนิ่ง/วิทยุ/การบันทึกเสียงเป็นประสบการณ์ที่ดูอย่างเดียง ได้แก่ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์มสตริป ฯลฯ หรือได้ฟังอย่างเดียว เช่น วิทยุ แผ่นเสียง และเทพบันทึกเสียงเป็นต้น
       9.ทัศนสัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ภาพ ได้แก่ ประสบการณ์ที่เกิดจากภาพเหมือน ลายเส้น แผนภูมิ กราฟ แผนที่หรือสัญลักษณ์อื่นๆที่มนุษย์คิดขึ้น
             10.พจนสัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ทางภาษาพูด-เขียนเป็นประสบการณ์ที่เกิดจาการฟังคำพูด คำบอกเล่าหรือการอ่านจากที่มีผู้เขียนไว้แล้ว ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเขียนความหมายเองซึ่งอาจทำให้ตีความสิ่งที่ได้ฟังได้อ่านแตกต่างกันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น